ระบบการเขียน

ระบบการเขียนทั่วโลกมีแนวโน้มว่าจะเป็นแบบภาพสัญลักษณ์หรือแบบเสียงสัญลักษณ์ โดยเริ่มมาจากรูปภาพของสิ่งของ หรือภาพที่แสดงความหมาย แล้วค่อยๆเปลี่ยนแปลงผ่านเวลาเป็นศตวรรษ มาแสดงเสียงแทนภาพและความหมาย ซึ่งรวมทั้งระบบการเขียนของทางตะวันตกและตะวันออก ยกตัวอย่างเช่น ตัวอักษรภาพของอียิปต์เริ่มโดยเป็นภาพวาด แต่การวาดภาพที่ซับซ้อนทีละภาพใช้เวลานาน อักษรภาพจึงถูกบีบให้สั้นลงโดยนักบวชที่ต้องการวิธีเขียนที่เร็วขึ้นบนกระดาษปาปิรัส ระบบการเขียนใหม่นี้เรียนว่า ระบบการเขียนแบบนักบวช ในช่วงเวลาใกล้ๆกัน ระบบอีกแบบเรียกว่า เดโมติก ซึ่งมาจากคำกรีกว่า เดมอส ซึ่งแปลว่า เป็นที่นิยม หรือประชาชน เราได้คำว่า ประชาธิปไตย มาจากรากศัพท์คำเดียวกันนี้ คำวิวัฒนาการโดยยิ่งสั้นลงอีกเพื่อให้คนทั่วไปเขียนภาษาอียิปต์ได้อย่างรวดเร็ว เดโมติคเป็นระบบการเขียนที่สองจากสามระบบที่เขียนบนศิลาโรเซตตา ภาษาแรกคืออักษรภาพอียิปต์ สองคือเดโมติค และสามคือกรีก ศิลาโรเซตตาช่วยให้คนเข้าใจความหมายของอักษรภาพ เพราะทั้งสามภาษาเขียนใจความเดียวกัน ประชาชนรู้ว่าจะอ่านภาษากรีกโบราณอย่างไร จึงใช้ความรู้นี้ตีความเดโมติคและอักษรภาพ ในขณะที่อักษรภาพถูกทำให้เรียบง่ายขึ้น มันก็เริ่มถูกใช้แทนเสียงของคำที่มันแสดงความหมายแต่เดิม เช่น อัพษรภาพคำว่าน้ำ เหมือนจะออกเสียงว่า มู เมื่อเวลาผ่านไป สัญลักษณ์นี้ถูกใช้เพื่อแสดงเสียง มู โดยไม่ใช่เฉพาะความหมายเกี่ยวกับน้ำเท่านั้น สิ่งที่เป็นรูปของสิ่งของได้กลายเป็นสิ่งที่แสดงเสียงแทน ชาวฟินิเชียที่ใช้อัพษรภาพอียิปต์ส่วนหนึ่งเป็นฐานของตัวอักษรใหม่ของพวกเขา ได้เลิกใช้การแทนความหมายของภาพ และใช้เพียงสัญลักษณ์แสดงเสียง การถ่ายโอนแบบเดียวกันก็เกิดขึ้นที่เอเชียด้วย ตัวอักษรจีนเป็นตัวอักษรแสดงความหมาย เคยถูกใช้เพื่อแสดงความหมาย เมื่อเวลาผ่านไป มันถูกยืมและเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิงเพื่อนำเสียงไปใช้ เหมือนที่เกิดขึ้นกับอักษรภาพของอียิปต์ แต่นี่ไม่ได้เกิดขึ้นที่จีน มันเกิดขึ้นในญี่ปุ่น ประมาณปี 391 ตัวอักษรจีนถูกนำเข้าสู่ญี่ปุ่นโดยเกาหลี ศตวรรณถัดมา ตัวอักษรจีนบางตัวได้เริ่มถูกใช้เพื่อแทนเสียง ไม่ใช่แทนความหมาย สองศตวรรษต่อมา ระบบดังกล่าวพัฒนาเป็นระบบเรียกว่า มันโยกานะ ในญี่ปุ่น ตัวอักษรประมาณสี่สิบกว่าตัวจากห้าหมื่นตัวถูกเลือกมาเพื่อแทนเสียง และตัวอักษรเหล่านี้ก็ถูกเขียนเร็วขึ้นและลื่นไหลขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป การเขียนแบบเขียนทั้งตัวอักษรด้วยเส้นแค่เส้นสองเส้นนี้เรียกว่า การเขียนแบบติดกัน เป็นการเขียนที่เร็วและย่อที่สุดจากการเขียนติดกัน รู้จักกันในชื่อ มือหญ้า ซึ่งพู่กันจะไม่ยกออกจากกระดาษในขณะเขียน บางครั้งจะเขียนตัวอักษรถัดไปโดยไม่ยกพู่กันออกจากกระดาษเลย ต่อมาการเขียนแบบเร็วนี้ถูกปรับโดยผู้หญิงในญี่ปุ่นที่ถูกห้ามโดยกฎหมายไม่ให้เรียนคันจิดั้งเดิมของจีนเพิ่ม เพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายนี้ และสื่อสารกันโดยการเขียน พวกเธอจึงคิดวิธีเขียนของตัวเองขึ้นมา โดยเรียกว่า ฮิรางานะ ซึ่งหมายถึง เรียบ ปลอม ชื่อ หรือแปลคร่าวๆว่า ตัวอักษรปลอมเรียบๆ ในขณะที่ตัวอักษรจีนดูเหลี่ยมๆและซับซ้อน ฮิรางานะใช้ทรงกลมลื่นไหลอ่อนช้อยในตัวอักษร โดยแสดงเพียงเสียงไม่มีความหมาย ฮิรางานะจึงมีฐานมาจากตัวอักษรจีน นี่เป็นตัวอย่าง ตัวอักษรจีนที่แปลว่า เพิ่ม คุณเลือกเสียงจากตัวอักษรที่เหมือน เปิดปาก และเพิ่มกำลัง เหมือนใครกำลังใส่พลังในการตะโกน ตัวอักษรนี้ถูกใช้เป็นหนึ่งในตัวพื้นฐานของจีนกลาง ตัวอักษรนี้ออกเสียงว่า จา มันถูกย่อลงเป็นแบบนี้ ซึ่งออกเสียงว่า คะ ในญี่ปุ่น เป็นส่วนที่พบทั่วไปของภาษาญี่ปุ่น ท้ายประโยคเพื่อทำให้เป็นคำถาม ตัวอักษรจีนอื่นก็เปลี่ยนเช่นกัน นี่เป็นตัวอักษรจีนที่แปลว่ากระดูกสันหลัง ออกเสียงว่า ลู ในจีนกลาง ถูกย่อเป็นตัว โระ ในญี่ปุ่น ตัวอักษร สวรรค์ ในภาษาจีนกลางออกเสียงว่า เทียน ตัวอักษรนี้กลางเป็นตัว เทะ ในฮิรางานะ และตัวอักษรนี้แต่เดิมแสดงสัญลักษณ์ออกจากร่างกาย บางครั้งมันใช้แทนคำว่า อิส ออกเสียงว่า หนาย ในจีนกลาง และถูกย่อเป็นตัวอักษรที่รู้จักมากที่สุดของภาษาญี่ปุ่น นี่คือตัวฮิรางานะที่แสดงความเป็นเจ้าของในภาษาญี่ปุ่น เหมือนอะโปสโตรฟี่เอสของภาษาอังกฤษ หากต้องการพูดว่าฮิรางานะของภาษาญี่ปุ่น ต้องพูดว่า นิฮงโนะฮิรางานะ ระบบนี้ใช้ตัวอักษรแสดงเสียง ไม่ใช่ความหมาย หนึ่งในยอดวรรณคดีญี่ปุ่นดั้งเดิม เกนจิโมโนกาตาริ ตำนานเกนจิ เขียนโดยหญิงชื่อ มุราซากิ ชิคิบิ บุคคลในช่วงศตวรรษที่สิบเอ็ด โดยเขียนโดยฮิรางานะทั้งหมด ในภาษาญี่ปุ่น เมื่อคุณรู้ว่าคำนั้นอ่านอย่างไร แต่ไม่รู้คันจิ ตัวอักษรจีนของคำนั้น คุณสามารถสะกดมันได้ โดยใช้เสียงของฮิรางานะ ฮิรางานะยังใช้เขียนส่วนประกอบทางไวยกรณ์ที่มักอยู่ที่ต้นหรือท้ายคำญี่ปุ่น แล้วญี่ปุ่นก็สร้างระบบการเขียนที่มีฐานจากเสียงออกแบบหนึ่ง เรียกว่า คาตาคานะ ซึ่งหมายถึง เศษ ปลอม ชื่อ หรือแปลคร่าวๆว่า ตัวอักษรปลอมที่แตกออกมา ในคาตาคานะ สามารถเขียนได้สี่สิบหกเสียง เป็นเสียงที่เหมือนกับฮิรางานะ แต่ใช้ตัวอักษรที่ไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่ตัวอักษรจีนตัวเดียวกันกับที่ใช้สร้างฮิรางานะก็ถูกใช้สร้างคาตาคานะเช่นกัน แต่ในคาตาคานะ แทนที่จะเขียนตัวอักษรจีนอย่างรวดเร็วและรวบเส้นเข้าด้วยกัน จะแยกตัวอักษรจีนเป็นส่วนๆ แล้วดึงส่วนหนึ่งมาใช้แทนเสียง ในขณะที่ฮิรางานะดูกลมๆลื่นไหล คาตาคานะจะดูเฉียบคม เรียบง่าย เหลี่ยมๆ เช่น ตัวอักษรที่เหมือนหายใจออก หนาย ในจีนกลาง กลายเป็นตัวอักษรกลม โนะ ในฮิรางานะ แต่ในคาตาคานะตัวอักษรจีนตัวเดียวกันถูกใช้ส่วนหนึ่งแทนที่จะเขียนอย่างรวดเร็ว ขาของตัวอักษถูกแยกออกมาแล้วใช้แทนเสียง โนะ ในคาตาคานะ ตัวอักษรจีน ลู ซึ่งกลายเป็นตัวฮิรางานะ โระ ในคาตาคานะเลียนแบบตัวอักษรจีนแล้วรวบเป็นตัว โระ โดยจะเขียนด้วยตัวอาร์แต่ออกเสียงคล้ายตัวแอลมากกว่า ตัวอักษรจีนที่แปลว่า ผู้หญิง หนู่ ที่กลายเป็นตัวฮิรางานะ เมะ ในคาตาคานะแยกขาตัวอักษรออกแล้วใช้แทนเสียง เมะ เช่นกัน ฮิรางานะและคาตาคานะไม่ใช่ตัวอักษรพยัญชนะ แต่เป็นพยางค์ เกือบทุกตัวอักษาแทนเสียงทั้งพยางค์ มีทั้งพยัญชนะและสระรวมอยู่ด้วยกัน ตัวอักษรธรรมดาจะแทนเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ฉะนั้นฮิรางานะและคาตาคานะจึ่งเป็นพยางค์ ไม่ใช่ตัวอักษรธรรมดา เราเขียนเสียงเดียวกันได้ในทั้งฮิรางานะและคาตาคานะ แต่ตัวอักษรจะแตกต่างกันมาก เพราะผู้คนเขียนตัวอักษรจีนอย่างรวดเร็วเพื่อสร้างฮิรางานะ ส่วนคาตาคานะแยกส่วนอักษจีนแล้วใช้ส่วนหนึ่งของมัน คาตาคานะในปัจจุบันใช้เพื่อแสดงคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ คำเช่น ช็อคโกแลต โชโกเรโตะ หรือเค้ก เคคิ เขียนโดยคาตาคานะ ฮิรางานะและคาตาคานะแสดงให้เห็นถึงความมหัศจรรย์ทั้งโลกตะวันตกและตะวันออก ระบบการเขียนมีการวิวัฒนาการอย่างแตกแยกกัน ผ่านเวลาหลายศตวรรษ จากตัวอักษรภาพและตัวอักษรแสดงความหมายของสิ่งของและความหมาย มาเป็นตัวอักษรแสดงเสียง